เกี่ยวกับ

โบราณวัตถุ
1) ความหมาย
โบราณวัตถุ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถานซากมนุษย์หรือซากสัตว์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับ ประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี
            ทั้งนี้คําว่า
โดยอายุนั้น กฎหมายมิได้กําหนดไว้เป็นจํานวนปีที่ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติมักกําหนดว่ามีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไปจึงจัดว่าเป็นโบราณวัตถุ
2) ความสําคัญ
โบราณวัตถุ มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการใช้ศึกษาถึงเรื่องราวและ พฤติกรรมของคนในอดีตเราอาจทราบถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในอดีตได้จากสิ่งของเหล่านี้ นั่นหมายความว่า โบราณวัตถุสามารถเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันยาวไกลของผู้คน ในอดีต (ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการบันทึกเล่าเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร) ให้เราได้รู้ตัวอย่างเช่น เศษเครื่องปั้นดินเผา สามารถเล่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้มาก ตั้งแต่การแสดงให้เห็นถึง ความสามารถทางเทคโนโลยีในการผลิตรูปแบบภาชนะซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงความนิยมในกลุ่มชน ที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งสามารถบอกถึงการติดต่อสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่นต่างๆ และบอกเส้นทางการค้าหรือการคมนาคมกับดินแดนอื่นๆได้อีกด้วย
3) ประเภท
            การแบ่งประเภทโบราณวัตถุนั้น ตามหลักวิชาการโบราณคดีอาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
            (1) โบราณศิลปวัตถุหรือโบราณวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น (Artifacts) ได้แก่ สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ ประติมากรรม จิตรกรรม จารึก เป็นต้น
            (2) นิเวศวัตถุหรือโบราณวัตถุที่เป็นของตามธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อม (Ecofacts) ที่ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต หรือมีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมของมนุษย์ เช่น กระดูกสัตว์ เมล็ดพืช ซึ่งเราสามารถนําไปศึกษาถึงสภาพแวดล้อมในอดีตได้ เพื่อเป็นการง่ายในทางปฏิบัติเราอาจแยกประเภทของโบราณวัตถุได้เป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
            1. แบ่งตามวัสดุที่ใช้ เช่น
                       
- โบราณวัตถุประเภทไม้
                        - โบราณวัตถุประเภทโลหะ เป็นต้น
            2. แบ่งตามการใช้งาน เช่น
                        - เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน เช่น เครื่องปั้นดินเผา
                        - เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือล่าสัตว์ เครื่องมือหาปลา                 เป็นต้น
                        - เครื่องประดับ เช่น ลูกปัด กําไล เป็นต้น
            ดังนั้นการแบ่งประเภทของโบราณวัตถุจึงไม่ได้กําหนดตายตัว ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการแยกแยะจัดกลุ่มโบราณวัตถุในแต่ละแห่ง
4) ปัญหาในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
            โดยทั่วไปแล้วโบราณสถาน โบราณวัตถุแหล่งโบราณคดีรวมทั้งบันทึกประวัติศาสตร์ และจดหมายเหตุ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมนั้น จัดเป็นสิ่งสูงค่าทํานองเดียวกับ ทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ธาตุและน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งหากใช้อย่างไม่ระมัดระวังแล้วก็จะ หมดไปอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีวิธีการใดจะสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันอย่างเต็มกําลังในการอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมให้เป็นสมบัติ
ตกทอดแก่รุ่นลูกหลานสืบไป
            อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันดีว่า ในทุกประเทศกําลังประสบปัญหาเรื่องการเสื่อม สลาย หรือปัญหาในการดําเนินการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โบราณสถาน โบราณวัตถุและแหล่งโบราณคดี หากจะกล่าวอย่างกว้างๆ แล้วการเสื่อมสลายของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย มักเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
            1. การเสื่อมสลายไปเนื่องจากกระบวนการทางธรรมชาติและกาลเวลา กรณีนี้ ได้แก่
การพังทลายของดิน การชะล้างดิน เนื่องจากการกระทําของน้ำฝน น้ำท่วม แผ่นดินยุบตัวแผ่นดินไหว รวมทั้งจากการกระทําของลมและภูมิอากาศรวมทั้งความชื้น ความร้อน อุณหภูมิฯลฯ นอกจากนี้ยังเกิดเนื่องจากเป็นกฎของธรรมชาติที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วัตถุต่างๆ ย่อมผุพังเสื่อมสลายรูปลักษณ์เดิม แต่โดยทั่วไปแล้วการเสื่อมสลายเนื่องจากกาลเวลา มักเป็นไปอย่างช้าๆ แม้ว่ากระบวนการทางธรรมชาติสามารถทําให้มรดกทางวัฒนธรรมทุกประเภท ต้องเสื่อมสลายไปในที่สุด แต่ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิชาการมาดําเนินการเพื่อชะลอการเสื่อม สลายหรือป้องกันการเสื่อมสลายไปก่อนเวลาที่สมควรได้
            2. การเสื่อมสลายเนื่องจากการกระทําของคน การเสื่อมสลายของมรดกทางวัฒนธรรมประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุแหล่ง โบราณคดีบันทึกประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุเนื่องจากการกระทําของคน นับเป็นปัญหาใหญ่ และมีผลในการทําลายมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้การกระทําที่นําไปสู่การทําลายนั้น ก็มีทั้งทําไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ทับแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถาน การขุดดินบริเวณโบราณสถานเพื่อใช้ในการก่อสร้าง หรือการพยายามซ่อมแซมโบราณสถาน-โบราณวัตถุโดยขาดความรู้ เป็นต้น และที่ทําไปโดยจงใจ เช่น การลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ เพื่อนําไปขายหรือเก็บเป็นของส่วนตัว เป็นต้น
             3. การเสื่อมสลายเนื่องจากการกระทําของพืชและสัตว์ รากของพืชที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งโบราณคดีโบราณสถาน หรือสิ่งก่อสร้างที่มีความ งดงามทางศิลปะ สามารถชอนไชไปตามช่องว่างและรอยต่อส่วนต่างๆของสิ่งก่อสร้างได้เมื่อพืช เหล่านี้เติบโตมีรากใหญ่ขึ้นก็จะดันให้สิ่งก่อสร้างเกิดรอยแยกจนกระทั่งร้าวและแตกหักหลุดออกไป ส่วนสัตว์ประเภทมด ปลวก มอดก็สามารถทําลายส่วนประกอบของโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่เป็นไม้และอินทรียวัตถุให้สูญสลายไปได้อย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งสามารถ ทําลายบันทึกประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุที่ทําด้วยกระดาษ ในบรรดาสาเหตุเหล่านี้กล่าวได้ว่าในปัจจุบัน การเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการ กระทําของคนมีมากที่สุด หรือก่อให้เกิดการทําลายรุนแรงที่สุดต่อมรดกทางวัฒนธรรมทุกประเภท
5) การอนุรักษ์โบราณวัตถุ โบราณสถาน   
            โบราณวัตถุ  โบราณสถาน เป็นสมบัติอันล้ำค่าของท้องถิ่น ประเทศและโลก ที่เราควรช่วยกันรักษาไว้  เช่น การไม่ขีดเขียนข้อความ  หรือการกระทำอันก่อให้เกิดการเสื่อมสลาย หรือลดคุณค่าของโบราณสถานและโบราณวัตถุ  การไม่หยิบสิ่งของต่างๆในโบราณสถาน  หรือพิพิธภัณฑสถานมาเป็นของตน  สาธารณประโยชน์ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ใช้ของใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นเราจึงควรช่วยการดูแลและรักษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น