วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ช้อน



ชื่อ : ช้อน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Spoon
วิธีใช้ : ใช้รับประทานอาหารและใช้ตักอาหาร

เสื่อ



ชื่อ : เสื่อ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mats
วิธีใช้ : ใช้ปูสำหรับนั่ง

กรรไกรคีบหมาก



ชื่อ : กรรไกรคีบหมาก
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mark Knife
วิธีทำ : ใช้คีบหมาก

หม้อต้มยา


ชื่อ : หม้อต้มยา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Medical Pot
วิธีใช้ : ใช้ต้มยาสมุนไพร

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ฝาชี



ชื่อวัตถุ ฝาชี
ลักษณะ รูปร่างคล้ายกรวยคว่ำ มีหูจับด้านบน สานด้วยไม้ไผ่
ประโยชน์การใช้สอย ใช้สำหรับครอบสำรับคาวหวาน ป้องกันแมลงไต่ตอม โดยทั่วไปฝาชีจะสานละเอียด ตาถี่ เพื่อไม่ให้แมลงหวี่ แมลงวัน เข้าไปตอมอาหาร

ชามตราไก่




ชื่อวัตถุ ชามตราไก่
ลักษณะ มีลักษณะเป็นครึ่งซีกหงายคล้ายกะลามะพร้าวปากกลม มีความลึก เหมาะสำหรับใส่กับข้าวที่เป็นน้ำ
ประโยชน์การใช้สอย ใช้ใส่อาหารทั่วไป ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีน ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้น จึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป

ครก



ชื่อวัตถุ ครก
ลักษณะ ตัวครกทำจากหิน มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามประโยชน์ใช้สอยและวัสดุ แต่จะต้องมีหลุมตรงกลางครกเพื่อใส่สิ่งของที่จะตำหรือโขลก สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้คู่กับ ครก คือ สาก หรือเรียกว่า สากกะเบือ คำว่า สากกะเบือ เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก สากข้าวเบือ ข้าวเบือ หมายถึง ข้าวสารที่ตำกับของอื่นประสมกับน้ำแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น
ประโยชน์การใช้สอย ใช้ตำเครื่องแกงต่างๆ ให้ละเอียด เช่น พริก หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ฯลฯ เพื่อให้เครื่องแกงแต่ละชนิดผสมกันได้ดียิ่งขึ้น สะดวกแก่การรับประทาน เครื่องแกงที่ผสมกันจากการโขลก ในครกนี้ว่ากันว่ามีรสอร่อยดีกว่าการบดด้วยเครื่องไฟฟ้า ครกเป็นเครื่องบดประจำครัวไทยที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ทำด้วยหินแข็งมี ลักษณะเป็นแอ่งลึก รูปครึ่งวงกลมมีขอบ และก้นหนา เพื่อมิให้แตกง่าย อีกแบบหนึ่งทำด้วยดินเผามีรูปร่าง แตกต่างกันกับครกที่ทำด้วยหิน คือมีทรงสูงกว่าครกทั้งสองแบบจะต้องมีสากสำหรับตำ เวลาใช้จะต้องใช้สากตำลงไปให้แรงๆ จนเกิดการเสียดสีกันจนสิ่งที่ตำนั้นละเอียดได้ ครกหินต้องใช้สากหิน ครกดินเผาจะใช้สากไม้ ไม้ที่ทำสากจะต้องใช้ไม้เนื้อเหนียวและหนัก เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ต้นตาล สากมีลักษณะปลายใหญ่มนด้ามเล็กเหมาะแก่การจับถือ

จวัก



ชื่อวัตถุ กระจ่า , จวัก , ตะหวัก หรือจวัก
ประโยชน์การใช้สอย ใช้สำหรับตักอาหารจากหม้อหรือภาชนะ กระจ่าเป็นเครื่องใช้ในครัวของคน ไทยมาแต่โบราณก่อนที่จะมีทัพพีโลหะใช้อย่างในปัจจุบัน กระจ่าที่ใช้อยู่ทั่วไปมีสามชนิดคือ ชนิดตัวกระจ่าแบบ แบนๆ ใช้สำหรับตักข้าว ชนิดตัวกระจ่าใช้สำหรับตักแกง และชนิดตัวกระจ่าลึกมากๆ จะใช้สำหรับตักของหวาน

กระบวย



กระบวย
          กระบวย เป็นภาชนะตักน้ำทำด้วยกะลามะพร้าวมีด้ามถือ ในสมัยก่อนตามหน้าบ้านของชาวชนบท มักจะตั้งซุ้มโอ่งน้ำหรือเรียกว่าโอ่งน้ำเย็น ใครเดินผ่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายหิวจะแวะดื่มน้ำ แม้ขึ้นไปเยี่ยมเยียนบนบ้านเรือน จะรีบตักน้ำมาต้อนรับแขกเป็นอันดับแรก เพราะเดินทางเหนื่อยมาไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้ดื่มน้ำแก้ความกระหาย การตั้งซุ้มโอ่งน้ำหน้าบ้านเป็นการแสดงถึงความมีน้ำใจของชาวชนบทอย่างหนึ่ง และการใช้ภาชนะตักน้ำดื่มวางคู่กับโอ่งน้ำจะใช้กระบวยกะลามะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ เพราะกะลามะพร้าวเป็นวัสดุที่หาง่ายในหมู่บ้าน อีกทั้งหายไปก็ไม่เสียดายอะไร

          การใช้กระบวยตักน้ำคงพัฒนามาจากการดื่มน้ำแบบดั้งเดิม คือ การใช้วักน้ำดื่ม ใช้ใบไม้บางชนิดห่อตักน้ำ จวบจนมีการใช้เปลือกผลไม้ เช่น กะลามะพร้าวตักน้ำ ถ้าจะให้ดูมีคุณค่ามากขึ้นจะตกแต่งประดิดประดอยกะลามะพร้าว และด้ามจับเป็นลวดลาย รูปคน รูปสัตว์ต่าง ๆ หรืออาจมีการลงรักทาชาดปิดทอง จนดูเป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่มีคุณค่ามากทีเดียว

หวด


หวด
          
          ชื่อสามัญ   หวด หรือ มวย  เป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ  ใช้สำหรับนึ่งข้าวเหนียวและผลไม้อื่น  ๆ  ได้ทำหน้าที่คล้ายกับซึงในปัจจุบัน  ที่ก้นมวยจะมีที่รองรับข้าวเพื่อไม่ให้รั่วไหลลงหม้อนึ่ง  เรียกว่ากระเตี้ยวมวย  (กะเต้าโมย)
          วิธีใช้ นำข้าวสารเหนียวซึ่งแช่น้ำไว้  (หม่า)  ประมาณ  3-6  ซม.  และขยายตัวได้ที่แล้ว  (ไน๊)  ใส่ลงไปในมวยซึ่งมีกระเตี๊ยวมวยรองรับอยู่รอให้สะเด็ดน้ำสักพักหนึ่งใช้ฝาหม้อหรือภาชนะแบน  ๆ  ปิดทับข้าวสารไว้  นำไปตั้งในหม้อนึ่งซึ่งมีน้ำอยู่พอประมาณและตั้งอยู่บนเตาไฟเรียบร้อยแล้ว  สุมฟืนให้เกิดความร้อนสม่ำเสมอจนเกิดไอน้ำพุ่งทะลุผ่านข้าวสารขึ้นมา  

กระต่ายขูดมะพร้าว



กระต่ายขูดมะพร้าว
          กระต่ายขูดมะพร้าว บางพื้นบ้านเรียกว่า กระต่ายขูด หรือ เหล็กขูด ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าว การเรียกชื่อกระต่ายขูดมะพร้าวอาจเนื่องมาจากฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่าย ประกอบกับการทำโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว มักทำเป็นตัวกระต่ายมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ชาวบ้านจะเรียกรวมว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว”ผู้สูงอายุเล่าว่า เดิมทีเดียวการขูดเนื้อมะพร้าวคั้นกะทิ จะใช้ช้อนทำจากกะลามะพร้าวขูดให้เป็นฝอย ต่อมาทำเป็นฟันซี่โดยรอบ บางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่สำหรับขูดมะพร้าว จนกระทั่งเมื่อมีการใช้เหล็กมาทำของใช้ในครัวเรือน จึงได้ตีเหล็กแผ่นบาง ๆ ตัดรูปโค้งมน ใช้ตะไบถู ทำซี่ละเอียดปลายเหล็กคมเรียกว่า “ฟันกระต่าย” นำส่วนเหล็กขูดฟันกระต่ายนี้ไปประกบหรือเข้าเดือยกับรูปตัวสัตว์ที่เตรียมไว้

          วิธีการขูดมะพร้าวของชาวบ้านจะขูดเบา ๆ ไม่กดแรงเกินไป เพราะจะทำให้คั้นกะทิยาก หากขูดเบา ๆ แล้วเนื้อมะพร้าวจะเป็นฝอยละเอียด คั้นน้ำกะทิง่ายและได้ปริมาณมากกว่า ปกติการขูดมะพร้าวใช้ปรุงอาหารเฉพาะครอบครัวต้องขูดในระหว่างเตรียมอาหารขณะนั้น ไม่นิยมขูดเนื้อมะพร้าวไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะจะทำให้เนื้อมะพร้าวเหม็นบูด

กระทะ




กระทะ
 กระทะ เป็นอุปกรณหลักชิ้นหนึ่งในครัว ไว้สำหรับทอด, ย่าง, และปรุงอาหาร โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่20 ถึง 30 ซม. กระทะจะมีแอ่งตรงกลาง ไม่มีฝา

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

โม่หิน



โม่หิน

                   โม่หินเป็นเครื่องมือบดแป้ง ใช้ทำขนมในสมัยโบราณ มีสองส่วน คือ ลูกด้านบนมีแกนหมุนได้และส่วนด้านล่างมีร่องให้แป้งที่บดละเอียดแล้วไหลลงสู่ที่รองรับ แป้งที่เหลวละเอียดใส่ถุงผ้าซับให้แห้งไว้ทำขนม

พรกขนมลา



พรกขนมลา

               พรกขนมลา ใช้ทำขนมลาทำจากกะลามะพร้าวนำมาเจาะรูเล็กๆ ผูกติดกับคานไม้ใส่แป้งเหลวๆ เคาะให้แป้งเหลวลงในกะทะที่ตั้งไฟจนน้ำมันร้อนจะได้ขนมลา

หม้อกระดี่



ชื่อวัตถุ หม้อกระดี่ 
ลักษณะ มีลักษณะเหมือนหม้อดินแต่ขนาดใหญ่กว่า 
ประโยชน์การใช้สอย เป็นภาชนะสำหรับหุงต้มอาหาร สมัยก่อนใช้เป็นหม้อดินเผาโดยเฉพาะเพื่อ เลี้ยงผู้คนที่มาทำบุญร่วมกันหรือมาลงแขกในงานต่างๆ ในการทำหม้อดินเผาจะปั้นให้มีขนาดพอประมาณกับการทำอาหารในครัวของตน


วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

อีโรย


อีโรย


          อีโรย เป็นภาชนะสำหรับบีบตัวขนมจีนหรือขนมเส้น อีโรยทำจากวัสดุหลายชนิด พัฒนารูปแบบมาเรื่อย ๆ นับตั้งแต่การใช้ดินปั้น ไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ผ้า และโลหะ เป็นต้น

ชาวบ้านจะทำ “ขนมจีนน้ำยา” เนื่องในโอกาสสำคัญหรือการรวมคนมาก ๆ เพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีประชาชนจากชุมชนในละแวกนั้นมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก การเลี้ยงผู้คนที่มารวมกันมักทำอาหารคาวหวาน ให้มีปริมาณมากพอไม่ยุ่งยากต่อการทำ การทำมีสิ่งของเอื้ออำนวยในการประกอบอาหารด้วย จึงนิยมทำขนมจีนน้ำยาเลี้ยงคนมาก ๆ บางทีทำเพื่อแจกญาติพี่น้อง และคนอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง

          การทำตัวอีโรยที่นิยมกันมากคือ อีโรยทำด้วยแผ่นโลหะกลม ๆ เจาะรูเล็กรอบแผ่น ใช้ผ้าดิบผืนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาว 30 – 50 เซนติเมตร เป็นที่ห่อแป้งบีบ แผ่นโลหะกับผาเย็บติดกันโดยใช้เอ็นหรือด้ายเย็บ เวลาทำเส้นขนมจีนจะเทแป้งลงในผืนผ้า คนหนึ่งยกอีโรยไว้ตรงกลางกระทะน้ำร้อน อีกคนหนึ่งบิดผ้ารัดแป้งเหมือนลูกตุ้มกลมๆ ใช้มือสองข้างบีบผ้า แป้งขนมจีนจะลอดออกมาตามช่องเจาะรูไว้ เมื่อขนมจีนสุกจะลอยตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำเดือดพล่าน ใช้ตะแกรงตักขึ้นมาใส่น้ำเย็นล้างแล้วจับเป็นหัววางเรียงไว้ในตะกร้าหรือกระจาดให้เป็นระเบียบ ชาวบ้านเรียกว่า “การทำหัวขนมจีน” หรือ “การจับหัวขนมจีน”